อธิบายและยกตัวอย่าง

          ความหมายของคำว่า "อธิบาย" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 หมายถึง ไขความ ขยายความ ชี้แจง ส่วนคำว่า "ยก" หมายถึง อ้าง และ "ตัวอย่าง" หมายถึง สิ่งที่นำมาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด (ราชบัณฑิตยสถาน 2546:1324,890,453)
          พูลสุข กิจรัตนี (2531:336 อ้างถึงใน เสริมศรี ลักษณศิริ , 2540:336) กล่าวว่า การอธิบายหมายถึง การใช้คำพูดเพื่อสื่อความหมายและความสามารถในการยกตัวอย่างเพื่อให้นักเรียนเข้าใจเรื่องราวต่างๆ การยกตัวอย่างทำให้ผู้ฟังสนใจและเข้าใจมากขึ้น
          สมคิด สร้อยน้ำ (2542:369-370) กล่าวว่าการอธิบายเป็นกระบวนการสื่อความหมายเพื่อให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจในเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตรงกันในการเรียนการสอน ครูจะต้องใช้การอธิบายเนื้อหาสาระให้แก่นักเรียน ดังนั้นครูจะต้องอธิบายให้เข้าใจง่าย
           สรุปได้ว่า เทคนิคการอธิบายและยกตัวอย่างหมายถึง กลวิธีต่างๆที่ครูใช้ในการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้คำพูด กิจกรรมหรือใช้สื่อการสอนประกอบด้วยเพื่อขยายความให้นักเรียนเข้าใจได้ถูกต้อง ชัดเจนยิ่งขึ้น
           วัตถุประสงค์ของการอธิบายและยกตัวอย่าง
          วัตถุประสงค์ของการอธิบายและยกตัวอย่าง ที่สำคัญคือ การทำให้นักเรียนเกิดความเข้าใจของเนื้อหาในบทเรียนได้อย่างถูกต้อง
1. เพื่่อให้ความรู้เเละประสบการณ์ใหม่แก่นักเรียน
2. เพื่อช่วยนำทางในการอ่านหนังสือของนักเรียน
3. เพื่อมุ่งถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียนได้อย่างเต็มที่ในเวลาจำกัด
4. เพื่อให้นักเรียนเข้าใจและมีความรู้ที่คงที่และยาวนาน
5. เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนคิดตามในสิ่งที่ครูกำลังอธิบาย
6. เพื่อให้นักเรียนสนุกสนานกับการเรียนเพราะเข้าใจในเนื้อหาสาระที่ครูกำลังอธิบาย
          ประโยขน์ของการอธิบายและยกตัวอย่าง
          ศักดิ์ศรี ปาณะกุลและคณะ(2549:169)กล่าวว่า การอธิบายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการจัดการเรียนรู้ทุกวิชาและทุกรูปแบบ เพราะมีประโยชน์ดังนี้
1. เป็นสื่อให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาบทเรียน
2. ช่วยให้นักเรียนสนุกและเพลิดเพลินกับบทเรียน
3. ช่วยให้นักเรียนจดจำเนื้อหาสาระของบทเรียนและนำไปใช้ได้





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น